คำ..คมๆ

ชีวิตคือความมืดแน่แท้ เว้นเสียแต่เมื่อมีความมุ่งมาด
และความมุ่งมาดนั้นก็จะยังมืดบอด ถ้าหากไร้ปัญญา
และปัญญาทั้งหลายก็คงจะเปล่าประโยชน์ ถ้าหากไม่มีการงาน
และการงานก็จะว่างเปล่า เมื่อไม่มีความรัก




การงาน : The Prophet: คาลิล ยิบราล

...............................................................................


Monday, May 2, 2011

คาลิล ยิบราน..."THE PROPHET" งานชิ้นสำคัญของเขา

"ความรักไม่ให้สิ่งอื่นใดนอกจากตนเอง  และก็ไม่รับเอาสิ่งใดนอกจากตนเอง 

ความรักไม่ครอบครอง และก็ไม่ยอมให้ถูกครอบครอง 

เพราะความรักนั้นเพียงพอแล้วสำหรับตอบความรัก"


              เมื่อครั้ง .แรกๆ ที่เริ่มจับหนังสือขึ้นมาอ่าน แบบสนใจจริงๆ ก็คือมีเพื่อนคนหนึ่งส่งหนังสือ"เวลาในขวดแก้ว" ให้อ่าน....ในวัยนั้น นับว่าเป็นหนังสือที่อ่านสนุก กินใจมากๆ
ในที่สุด ก็มีสิ่งที่น่าสนใจติดมา 2 เรื่อง ก็คือถ้อยความของ คาลิล ยิบราน อันที่เอามาเริ่มต้นบทความ   และเพลงเวลาในขวดแก้ว ของจิม โครเช่.....
              หลังจากจบ หนังสือเวลาในขวดแก้วไปในเวลาอันรวดเร็ว ก็เที่ยวหาหนังสือ ปรัชญาชีวิต "THE PROPHET" มาครอบครอง .....จำได้ว่า ไปถามหาเพลงของจิม โครเช่ ที่แผงเทปใหญ่แถวสะพานเหล็ก แล้วก็ได้มาทั้งคู่ และก็รู้สึกชื่นชอบไปด้วย....



สำหรับ THE PROPHET นี่คือหน้าเวปที่น่าอ่านอย่างมากครับ
ไม่ทราบว่าใครทำเอาไว้ ขอชื่นชมครับ..ขอชื่นชม


คาลิล ยิบราน
KHALIL GIBRAN

                คาลิล ยิบราน เกิดที่ Bechari ประเทศเลบานอน ในปี ค.ศ.๑๘๘๓ ตายที่นิวยอร์ค สหรัฐอเมริกา ในปี ค.ศ. ๑๙๓๑ เป็นกวี นักเขียน และศิลปินที่ได้รับสมญานามว่า "วิลเลียมเบลคแห่งศตวรรษที่ ๒๐" บิดามารดาของยิบรานเป็นผู้มีการศึกษาและวัฒนธรรมดี
 
ตระกูลทางมารดาได้ชื่อว่าเก่งดนตรีที่สุดในหมู่บ้าน ยิบรานได้แสดงฝีมือทางวาดเขียน ก่อสร้าง ปั้น และแต่เรียงความมาตั้งแต่เยาว์วัย เมื่ออายุ ๘ ปีก็สนใจและเข้าใจซาบซึ้งในงานของไมเคิล แอนเยลโลและเลโอนารโดดารวินชิ
ในปี ๑๘๙๕ ครอบครัวของเขาได้เดินทางไปตั้งรกรากยังสหรัฐอเมริกา แต่เมื่ออายุได้สิบสี่ปีครึ่ง ยิบรานก็เดินทางกลับมายังเลบานอนและเข้าเรียนในสถานศึกษาภาษาอาหรับของซีเรีย ต่อมาเขาได้เดินทางไปศึกษาศิลปะกับโรแดง ( Rodin) ปฏิมากรชาวฝรั่งเศสที่ Ecole des Beaux Arts ในกรุงปารีส
ในปี ค.ศ. ๑๙๑๒ ยิบรานเดินทางไปยังสหรัฐอเมริกาและพำนักอยู่ในกรุงนิวยอร์ค และที่นั่นเอง เขาก็ได้ริเริ่มก่อตั้งสมาคมนักเขียนชาวอาหรับ (Arabic P.E.N. Club) และได้เป็นนายกของสมาคมด้วย
  
                งานประพันธ์ของยิบรานได้มีอิทธิพลจูงใจคนรุ่นหลังมาก ทั้งผู้ใช้ภาษาอาเรบิคในประเทศอาหรับและในอเมริกา ตลอดทั้งยุโรป เอเชีย ตั้งแต่ประเทศจีนถึงสเปน งานชิ้นแรกๆ ของยิบราน เป็นบทเขียนและบทกวีภาษาอาหรับ งานเหล่านั้นแสดงทัศนะเห็นแจ้งในธรรมะ ความงดงามในท่วงทำนอง และแนวใหม่ที่จะเข้าแก้ปัญหาของชีวิต ยิบรานเริ่มใช้ภาษาอังกฤษในการเขียนของเขาตั้งแต่อายุยังไม่ถึงยี่สิบปี
งานชิ้นที่มีชื่อเสียงที่สุดของเขาคือ ชิ้นที่ชื่อ "THE PROPHET" ซึ่งกล่าวถึงความสัมพันธ์ระหว่างมนุษย์กับมนุษย์ด้วยกัน งานชิ้นนี้ได้ถูกแปลถ่ายทอดเป็นภาษาต่างๆ ไม่น้อยกว่าสิบสามภาษา อ่านกันแพร่หลายอย่างยิ่งทั่วโลก ยิบรานได้บรรจุหลักสัจธรรมไว้ด้วยสำนวนกวีอ่านง่ายแต่ไพเราะ เข้าถึงชนทุกชั้น นับเป็นทั้งบทกวี ปรัชญาและธรรมะ พร้อมกันไปในตัว บุคคลในหลายเชื้อชาติและต่างลัทธิศาสนาจำนวนมากได้ยึดถือเอาคำสอนในงานชิ้นนี้เป็นเสมือนประทีป นำแนวทางแห่งการดำรงชีวิต ทั้งนี้เพราะสัจธรรมนั้นเป็นของกลาง แม้ว่าจะกล่าวออกมาในเปลือกหุ้มใดๆ ก็มีธรรมชาติอันแท้เป็นสมบัติของมนุษย์ทั่วไปไม่ว่าชาติ ภาษา หรือลัทธิใด ศาสนาใด 

                ข้าพเจ้าแปลงานชิ้นนี้เป็นภาษาไทย ตั้งแต่ราว พ.ศ. ๒๔๙๐ ได้คัดบางส่วนลงพิมพ์ในที่หลายแห่ง ต้นฉบับแปลสมบูรณ์หายไปในระหว่าง พ.ศ. ๒๔๙๗ - ๘ จึงได้แปลใหม่อีกครั้งหนึ่ง ตัวอัลมุสตาฟาในเรื่องตอบปัญหาหลักธรรมถึง ๒๖ หัวข้อด้วยกัน ล้วนบรรจุข้อปรัชญาอันลึกซึ้งและไพเราะด้วยลีลากวีไว้ทั้งสิ้น ข้าพเจ้าได้พยายามถ่ายทอดความไพเราะของต้นฉบับเดิมออกมาอย่างเต็มที่แล้ว เชื่อว่าท่านที่สนใจคงจะได้รับรสและความซาบซึ้งจากฉบับแปลนี้ตามสมควร
ระวี ภาวิไล
มีนาคม ๒๕๐๔

1 comment:

Cookies said...

เป็น blog ภาษาอาหรับ และแปลภาษาอาหรับที่ดีจริงๆครับ